วันอังคารที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2560

หน่วยที่ 5 การใช้โปรแกรมยูทิลิตี้


            หน่วยที่ 5 การใช้โปรแกรมยูทิลิตี้




โปรแกรมยูทิลิตี้

โปรแกรมยูทิลิตี้ เป็นโปรแกรมที่นำมาใช้งานเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งมีมากมายหลายชนิด และโปรแกรมยูทิลิตี้บางตัวก็จัดเป็นโปรแกรมหนึ่งที่ใช้สำหรับการบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ ในการติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์โปรแกรมยูทิลิตี้ดังกล่าวจะถูกติดตั้งให้โดยอัตโนมัติ หลังจากที่ได้ติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ซึ่งก็คือโปรแกรม Scan-disk และโปรแกรม Derangement โดยโปรแกรมยูทิลิตี้ทั้งสองนี้ ถือเป็นโปรแกรมในกลุ่มที่ใช้งานเพื่อบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ นั่นก็ คือ เป็นการบำรุงรักษาด้านซอฟต์แวร์ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์

ตัวอย่างโปรเเกรมยูทิลิตี้ที่น่าสนใจ
1.CPU-Z คือโปรแกรมแบบฟรีแวร์ สามารถใช้งานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ใช้สำหรับตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลของ CPU, main board, RAM, OS และ Direct X  ได้อย่างละเอียด  ประโยชน์ของเจ้าโปรแกรมตัวนี้ เช่น เวลาเราซื้อโน้ตบุ๊กตัวใหม่ เราสามารถเช็คสเปคก่อนออกจากร้านได้ เผื่อสเปคไม่ตรงตามที่เราเข้าใจ บางครั้งพนักงานขายอาจหยิบตัวที่สเปคต่ำกว่ามาให้ เพราะหน้าตาของเจ้าโน้ตบุ๊กเหมือนกัน  ปัจจุบันโปรแกรม CPU-Z มีเวอร์ชั้นล่าสุด คือ CPU-Z 1.59 ซึ่งรองรับ Windows 8
CPU-Z มีความสามารถอะไรบ้าง
– ตรวจสอบว่าเครื่องของเราใช้ CPU ตัวไหนอยู่ มีรายละเอียดอะไรบ้าง โดยจะโชว์รูปไอคอนของ CPU ตัวนั้นให้เราดูด้วย
– ตรวจสอบว่า CPU เรามี Caches L1,L2,L3 เท่าไหร่
– ตรวจสอบว่าเครื่องเราใช้ Mainboard รุ่นอะไร

– เช็คว่าเครื่องเรามี RAM เท่าไหร่ แรมบัสเท่าไหร่ ใส่ได้กี่ตัว
– เช็ครุ่นการ์ดจอที่เราใช้อยู่

2.Memtest86 คือ โปรแกรมที่จะช่วยตรวจสอบ และวินิจฉัยหน่วยความจำ (RAM) เพื่อหาต้นตอของปัญหา และชุบชีวิตใหม่ให้กับคอมพิวเตอร์ของคุณ มีโน๊ตบุ๊คจำนวนมากที่ปัญหาเกิดจากหน่วยความจำแรม (Ram) ซึ่งอาจทำให้เครื่องมีปัญหาบลูสกรีน หรือมีเสียงร้อง ไม่สามารถ Boot เข้า Windows ได้เป็นต้น

Memtest86 คือ เครื่องมือเฉพาะที่มีไว้ตรวจสอบประสิทธิภาพในการทำงานของแรม มันใช้งานได้ดีมาก หากสงสัยว่าปัญหาที่เกิดขึ้น อาจมาจากหน่วยความจำแรมแล้ว Memtest86 สามารถช่วยคุณได้

โดยวิธีดู คือ ถ้าหน่วยความจำไม่มีปัญหา จะไม่เห็นข้อความแสดงข้อผิดพลาดเป็นสีแดง แต่ในทางกลับกันหากมีข้อผิดพลาดจะแสดงข้อความสีแดง

อะไรที่ Memtest86 ทำไม่ได้

น่าเสียดายที่ซอฟต์แวร์ทดสอบหน่วยความจำส่วนใหญ่ไม่สามารถบอกได้ว่า โมดูล RAM แผงไหนที่เสีย ซึ่ง Memtest86 ก็ไม่ได้รับการยกเว้น อย่างไรก็ดี ถ้าพบข้อผิดพลาดที่มากกว่า 1 ข้อ คุณอาจจะลองแก้ปัญหาโดยพิจารณาจากเงื่อนไข และขั้นตอนต่อไปนี้ดูนะครับ
• พีซีที่โอเวอร์คล็อก อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้การทำงานของหน่วยความจำผิดพลาดได้
ถ้าเครื่องของคุณโอเวอร์คล็อกอยู่ในขณะนั้น คุณอาจจำเป็นต้องคืนความเร็วเดิมให้กับซีพียู จากนั้นสั่งรันโปรแกรม Memtest86 ซ้ำอีกครั้ง
• วิธีตรวจสอบแผงหน่วยความจำที่เสียหาย
1. ถ้าคุณมีหน่วยความจำอยู่แผงเดียวในเครื่องของคุณ ให้เปลี่ยนหน่วยความจำแผงใหม่เข้าไป แล้วทดลองรันโปรแกรม Memtest86 อีกครั้ง
2. กรณีที่มี RAM หลายแผงให้ถอดออกให้หมดจนเหลือแค่แผงเดียว สั่งรัน Memtest86 ตรวจสอบทีละแผงจนกว่าจะพบแผงหน่วยความจำที่มีข้อผิดพลาด

เมื่อคุณพบ RAM ที่เสียหาย ก็ถอดมันออกไป เพื่อเปลี่ยนแผงใหม่ที่ดีเข้าไปแทน เพียงแค่นี้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณก็น่าจะกลับมาใช้งานได้ดีเหมือนเดิม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คำสั่งควบคุมการทำงานของโปรแกรม

คำสั่งควบคุมการทำงานของโปรแกรม สำหรับบทนี้จะอธิบายถึงคำสั่งควบคุมการทำงานของโปรแกรม ซึ่งแบ่งกลุ่มตามลักษณะการทำงานตามข้อกำหนดมาตรฐานของสถ...